ข้ามไปยังเนื้อหาหลักข้อมูลสำหรับผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ

แบบฟอร์มข้อมูลทางการแพทย์ (MEDIF)

เราสามารถช่วยคุณได้ หากคุณมีความกังวลเกี่ยวกับปัญหาด้านสุขภาพและการเดินทาง หรือหากคุณต้องการการเดินทางที่ต้องได้รับความช่วยเหลือ โปรดกรอกแบบฟอร์มข้อมูลทางการแพทย์พร้อมกับแพทย์ของคุณ จากนั้นเราจะช่วยประเมินความต้องการคุณ
  • MEDIF ส่วนที่ 1

    จะต้องกรอกโดยผู้โดยสารเองหรือในนามของผู้โดยสารท่านนั้น

  • MEDIF ส่วนที่ 2

    เมื่อได้ทำการส่งส่วนที่ 1 แล้ว เราจะส่งส่วนที่ 2 ไปให้แพทย์ของผู้โดยสารทำการกรอกต่อให้สมบูรณ์

    จากนั้น ส่วนที่ 2 จะถูกส่งต่อมาให้ผู้โดยสาร

  • การส่งขั้นสุดท้าย

    จะต้องตรวจสอบทบทวนและยืนยันสำหรับการส่งขั้นสุดท้าย (ส่วนที่ 1 และ ส่วนที่ 2) โดยผู้โดยสารเอง ก่อนส่งมายังเรา

    โปรดส่งแบบฟอร์มที่กรอกเสร็จแล้วก่อนถึงเวลาของเที่ยวบินอย่างน้อย 48 ชั่วโมง เพื่อให้เราได้ตรวจสอบและดำเนินการตามคำร้องได้

เริ่มต้นแบบฟอร์ม MEDIF ของฉัน
กรอกรายละเอียดการจองของคุณเพื่อเริ่มการส่ง MEDIF ของคุณทางออนไลน์

ข้อมูลสำคัญ

ควรกรอกแบบฟอร์ม MEDIF ให้เสร็จเรียบร้อยตามอาการของผู้โดยสาร ภายในหนึ่งเดือน จากวันที่วางแผนการเดินทางเอาไว้ และส่ง ภายใน 48 ชั่วโมง ก่อนถึงเที่ยวบิน


หน่วยงานบริการด้านการแพทย์ของเอมิเรตส์อาจขอข้อมูลเพิ่มเติม หรือคำอธิบายที่ชัดเจนก่อนการอนุมัติ MEDIF ของคุณ คุณควรจะแจ้งให้เราทราบในทันทีเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่เกิดขึ้นกับอาการของผู้โดยสารก่อนการเดินทาง


หากคุณส่งแบบฟอร์ม MEDIF ในนามของทารก โปรดดาวน์โหลดแบบฟอร์ม MEDIF ไฟล์ PDF (เปิด PDF ในแท็บใหม่) และส่งสำเนาที่กรอกข้อมูลครบถ้วนแล้วไปที่ medaattachments@emirates.com

คำแนะนำทั่วไป

ผู้โดยสารที่เดินทางโดยมีอาการดังต่อไปนี้ควรกรอกแบบฟอร์ม MEDIF เมื่อทำการจอง:

  • ผู้โดยสารที่สภาวะอาการทางการแพทย์ของตนจำเป็นต้องได้รับการจัดหาเครื่องช่วยหายใจ เปลหาม ผู้ดูแลทางการแพทย์ หรือการรักษาทางการแพทย์ในขณะที่อยู่บนเที่ยวบิน
  • ผู้โดยสารที่อาจจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์หรือเครื่องมือทางการแพทย์บนเที่ยวบิน
  • ผู้โดยสารที่ความพร้อมสมบูรณ์ของตนสำหรับการเดินทางทางอากาศยังคงเป็นที่กังขาไม่ว่าจะเนื่องด้วยความไม่แข็งแรง โรคภัยไข้เจ็บ การรักษา หรือการผ่าตัดในช่วงที่ผ่านมาไม่นาน
  • ผู้โดยสารที่โดยปกติแล้วไม่ได้รับการยินยอมให้เดินทางหรือประสบกับความเจ็บป่วยหรืออาการบาดเจ็บที่ร้ายแรงหรือมีอาการไม่คงที่

มีปัจจัยสองอย่างที่เราจะใช้พิจารณาเมื่อประเมินความพร้อมของร่างกายของผู้ป่วยต่อการเดินทาง:

  • แรงดันอากาศต่ำ: แรงดันอากาศในเครื่องบินเปลี่ยนอย่างรวดเร็วระหว่างช่วง 15 ถึง 30 นาทีหลังจากเครื่องออกเดินทางหรือก่อนเครื่องลง และการขยายหรือหดตัวของอากาศอาจเป็นเหตุให้เกิดอาการเจ็บปวดหรือแรงดันอากาศเปลี่ยนแปลงได้
  • การลดลงของแรงดันออกซิเจน: แรงดันในห้องโดยสารเทียบเท่ากับแรงดัน ณ ความสูงที่ 6,000 ถึง 8,000 ฟุต และแรงดันออกซิเจนบางส่วนมีน้อยกว่าบนพื้นดินประมาณ 20%

อาการทางการแพทย์ใด ๆ ที่อาจทำให้ผู้โดยสารไม่สามารถเดินทางได้ตลอดเส้นทางของเที่ยวบินนั้นหรือเคลื่อนตัวออกจากเครื่องบินนั้นได้อย่างปลอดภัยในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินโดยไม่ได้รับความช่วยเหลือด้านการแพทย์ที่สำคัญใด ๆ ภายในเครื่องบินถือเป็นสิ่งที่ไม่สามารถยอมรับได้สำหรับการเดินทางโดยเครื่องบิน


ปกติแล้ว อาการเหล่านี้จะไม่ได้รับการยอมรับให้เดินทางโดยเครื่องบิน

เราจะพิจารณาอาการของผู้ป่วยเป็นราย ๆ ตามอาการที่เป็นจริง และจะคำนึงว่าผู้โดยสารมีผู้ดูแลทางการแพทย์มาด้วยหรือไม่ อย่างไรก็ตาม เราจะไม่ยอมให้มีการเดินทางโดยเครื่องบินสำหรับผู้ที่มีอาการดังต่อไปนี้ตามคำแนะนำทั่วไป:

  • มีภาวะโลหิตจางรุนแรง
  • มีหูชั้นกลางอักเสบรุนแรง (otitis media) หรือไซนัสอักเสบรุนแรง
  • มีโรคติดต่อทางสัมผัสที่มีอาการเฉียบพลันหรือติดต่อได้
  • มีภาวะหัวใจล้มเหลว หรืออาการของโรคหัวใจแบบตัวเขียวคล้ำอื่น ๆ ที่ไม่สามารถควบคุมได้โดยทั้งหมด
  • มีกล้ามเนื้อหัวใจตาย (MI) ที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนภายในระยะเวลา 2 สัปดาห์สำหรับกรณีไม่ร้ายแรง หรือกล้ามเนื้อหัวใจตายที่มีภาวะแทรกซ้อนภายใน 6 สัปดาห์สำหรับกรณีร้ายแรง
  • ผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจที่รุนแรงหรือเพิ่งเกิดภาวะที่มีลมในช่องเยื่อหุ้มปอดขึ้น
  • ผู้ที่เป็นรอยโรคเกี่ยวกับกระเพาะอาหารและลำไส้ซึ่งอาจทำให้อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระออกมามีสีดำ หรือลำไส้อุดตัน
  • ผู้ป่วยหลังผ่าตัด:
    • ภายใน 10 วันหลังจากที่ผ่าตัดช่องท้องธรรมดา
    • ภายใน 21 วันหลังจากที่ผ่าตัดสายตาหรือหน้าอก (ไม่รวมการผ่าตัดด้วยเลเซอร์)
  • มีขากรรไกรหรือขากรรไกรล่างหัก ซึ่งใช้การมัดลวดแก้ไขขากรรไกรแบบถาวร (เว้นเสียแต่ว่าจำเป็นต้องมีการดูแลทางการแพทย์)
  • มีความเจ็บป่วยทางจิตที่ไม่คงที่โดยไม่มีผู้ดูแลและยาที่เหมาะสมสำหรับการเดินทาง
  • อาการชักที่ควบคุมไม่ได้ (เว้นเสียแต่ว่าจำเป็นต้องมีการดูแลทางการแพทย์)
  • ตั้งครรภ์ทารกคนเดียวโดยที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนหลังจากสัปดาห์ที่ 36 หรือตั้งครรภ์แฝดหลังจากสัปดาห์ที่ 32
  • ทารกเพิ่งเกิดไม่เกินเจ็ดวัน
  • ผู้ที่ได้รับแก๊สเข้าไปในช่องว่างภายในร่างกายเพื่อวัตถุประสงค์ในการวินิจฉัยโรคหรือเพื่อการรักษาภายในเจ็ดวันที่ผ่านมา

บันทึกเกี่ยวกับอาการอื่น ๆ

  • อาการแพ้: ผู้โดยสารไม่จำเป็นต้องกรอกแบบฟอร์มนี้เพื่อขอมื้ออาหารสำหรับเที่ยวบินของตน (โปรดทราบว่าเราไม่สามารถรับประกันว่าอาหารจะไม่มีส่วนผสมจากถั่วได้) อย่างไรก็ตาม หากผู้โดยสารมีอาการแพ้อาหารที่เป็นอันตรายถึงชีวิตซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาบนเที่ยวบิน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากผู้โดยสารมีปฏิกิริยาต่ออาหารบนอากาศ ควรกรอกแบบฟอร์มนี้
  • โรคหืด: จะต้องพกยาสำหรับโรคหืดไว้ในสัมภาระที่นำขึ้นเครื่อง เนื่องจากเครื่องพ่นยาจำเป็นต้องใช้แหล่งจ่ายไฟของตนเอง อุปกรณ์พ่นยาที่ใช้ร่วมกับยาพ่นจึงเป็นทางเลือกที่ใช้แทนได้บนเครื่องบิน
  • ผู้ติดตามช่วยเหลือ: ผู้ติดตามช่วยเหลือทางการแพทย์ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้นำอุปกรณ์สิ่งของสำหรับอำนวยความสะดวกทั้งหมดมาด้วย และให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยได้ตามที่ต้องการมาอย่างครบถ้วน และรับผิดชอบช่วยเหลือดูแลทุกด้านตามความต้องการของผู้ป่วย เนื่องด้วยกฎระเบียบในการจัดการกับอาหาร พนักงานบนเครื่องบินไม่สามารถให้ความช่วยเหลือดูแลความต้องการเหล่านี้ของผู้ป่วยได้
  • การแตก: การแตกของกระดูกที่ยาวหรือเฝือกแบบเต็มขาจำเป็นต้องใช้ใบรับรองแพทย์ ต้องใส่เฝือกมาอย่างน้อย 48 ชั่วโมง ควรใช้ผ้าพันแผลแบบแยกชิ้นสำหรับบาดแผลใหม่ (น้อยกว่า 48 ชั่วโมง) ซึ่งสามารถเกิดอาการบวมในระหว่างเที่ยวบินที่ยาวนานได้ ขออภัย ที่ว่างเพิ่มเติมสำหรับวางขาหรือที่หนุนขาให้สูงนั้นไม่มีให้บริการในที่นั่งโดยสารชั้นประหยัด แต่สามารถจองเป็นที่นั่งติดทางเดินได้ โปรดระบุว่าผู้โดยสารบาดเจ็บที่ขาซ้ายหรือขาขวา
  • การดูแลภายในเครื่องบิน:โปรดทราบว่าเราไม่ลูกเรือพยาบาลคอยให้บริการ ลูกเรือของเราได้ผ่านการฝึกสำหรับการปฐมพยาบาลมาเบื้องต้นเท่านั้น
  • โรคปอดและหัวใจ:โรคที่เกี่ยวกับปอดและหัวใจซึ่งอาจก่อให้เกิดอาการหายใจลำบากเมื่อเดินเป็นระยะทางมากกว่า 100 เมตรบนระดับพื้นดิน หรือเคยได้รับออกซิเจนที่โรงพยาบาลหรือที่บ้าน (หรือในเที่ยวบินก่อนหน้านี้) มาก่อน อาจจะต้องการออกซิเจนเสริม ออกซิเจนบนเครื่องนั้นมีไว้ให้ใช้สำหรับกรณีฉุกเฉินเท่านั้น กรณีของผู้ป่วยที่มีอาการเกี่ยวกับปอดและหัวใจที่รุนแรงรวมถึงผู้ป่วยที่ต้องการออกซิเจนอย่างต่อเนื่อง เปลหาม หรือตู้อบสำหรับเด็กแรกเกิด ควรจะมีรายงานทางการแพทย์ที่มีข้อมูลที่ทันสมัยพร้อมกับใบรับรองทางการแพทย์ด้วย (สำเนาของการอ้างอิงโดยโรงพยาบาลหรือแพทย์เฉพาะทางก็สามารถใช้ได้)
  • ผู้ทุพพลภาพ: หากผู้โดยสารจำเป็นต้องใช้รถเข็นถึงเพื่อเดินทางไปถึงแค่ประตูเครื่องบิน ไม่จำเป็นต้องกรอกแบบฟอร์มนี้ หมายเหตุ: กฎของการบินพลเรือนกำหนดไว้ว่าผู้โดยสารทุกคนจะต้องสามารถใช้ที่นั่งบนเครื่องบินโดยปรับตำแหน่งของเบาะรองหลังขึ้นมาได้
  • มื้ออาหาร: สามารถสั่งอาหารพิเศษที่เกี่ยวกับศาสนา หรือเหตุผลทางการแพทย์อื่น ได้ที่จัดการการจองของคุณทางออนไลน์ หรือผ่านตัวแทนท่องเที่ยวโดยตรง หากคุณจองผ่านพวกเขา
  • ความเจ็บป่วยในระยะสุดท้าย: ผู้โดยสารที่มีความเจ็บป่วยอยู่ในระยะสุดท้ายจำเป็นต้องมีผู้ติดตามให้ความช่วยเหลือด้านการแพทย์หรือการพยาบาล